จักระ (Chakra)

จักระเป็นภาษาสันสกฤต ซึ่งหมายถึง กงล้อที่หมุนรอบตัวเอง หรือ การหมุนเวียนแบบวงล้อ

ร่างกายคนเรามีการหมุนเวียนของพลังงานจากจุดศูนย์กลาง ซึ่งเปรียบเสมือนกับกงล้อของการทอผ้า ซึ่งถูกเรียกว่า “ จักระ ”

ในโลกแห่งความเป็นจริงทั้งหมดเรารับรู้ได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมโยงไปกับ แสง สี และเสียง ทั้งสิ้น

การบำบัดรักษา เกิดขึ้นได้โดยการนำจักระ เข้ามาเสริมสร้างในการจัดเรียงตัวเป็นแนวเดียวกันเพื่อให้เกิดความสมดุล

จึงก่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาพร้อมกับเป้าหมายชีวิตภายในตัวเรา

การพัฒนาเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดถูกขับเคลื่อนไปตามกาลเวลาอันเหมาะสม

▬ ในลัทธิของศาสนาฮินดู และ ระบบจิตวิญญาณของโยคะ พร้อมทั้งความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมทางตะวันออก, และแรงพลักดัน บางส่วน ในโลกยุคใหม่ และพลังขับเคลื่อนจากแนวความคิดใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและแตกต่างกันออกไป “ จักระ” จึงถูกมองว่า เป็นปุ่มแห่งพลังงานชีวิต ที่เกิดขึ้นในร่างกายของมนุษย์เรา

▬ ที่มาของการเรียกว่า จักระ เกิดจากภาษาสันสกฤตของคำ “cakra” ซึ่งหมายถึง กงล้อ, วงกลม และบางครั้ง ถูกอ้างว่าเป็นเสมือน “ วงล้อแห่งชีวิต” การสะกดคำในภาษาอังกฤษนั้น อาจเรียกเป็นคำว่า “chuhkruh” ซึ่งใช้คำ Ch เป็นตัวเรียกนำ ในขณะที่การเรียกด้วยคำว่า “shockrah” หรือ Sh นั้นเป็นคำเรียกที่ไม่ถูกต้อง

▬ จักระหลักทั้ง 7 ถูกอธิบายว่า เกิดจากการเรียงตัวกันจากบนลงล่างเป็นเส้นตรง จากจุดของแนวกระดูกสันหลัง ด้านล่างขึ้นไปถึงยัง ส่วนบนของศรีษะ แต่ล่ะจักระถูกแบ่งออกเป็นสีที่มีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน, มีหน้าที่การทำงาน หลายอย่างที่แตกต่างกัน, ก่อให้เกิดการรับรู้อย่างมีสติ, มีองค์ประกอบพื้นฐานที่เป็นเลิศ และมีลักษณะพิเศษที่ถูกแบ่งแยก ความหมายออกมาอย่างเห็นได้ชัด
จักระถูกมองว่าเป็นจุดศูนย์รวมแห่งพลังงานในร่างกายคนเรา และมีการเชื่อมโยงแบบมีผลกระทบซึ่งกันและกันกับธรรมชาติของทางร่างกายและจิตใจ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ถูกมองว่าเป็นแหล่งของพลังงานชีวิต หรือ พลังปราณ [Prana] ที่มีการไหลเวียนผ่านไปมาระหว่างกัน เป็นการโคจรที่เรียกว่า นาดิส [Nadis]

▬ เป็นสิ่งที่ลึกลับมหัศจรรย์ ที่ นาดิ (นาดิส เป็นคำ พหูพจน์) เป็นช่องทางแห่งพลังงาน ที่มีพลังปราณ ไหลเวียนผ่านไปมา และอาจถูกเชื่อมต่อ กับจักระ แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้ถูกยอมรับในหลักการทางวิทยาศาสตร์ นาดิสหลักๆนั้น จะคลอบคลุมไปถึง ชูชุมนา [Shushumna] , ไอด้า [Ida] และ พินการา [Pingara] ด้วย

▬ นาดิสถูกมองว่าเป็นสื่อนำแห่งพลังงานชีวิตที่รู้จักกันในนามของพลังปราณในภาษาสันสกฤต หรือ พลังชี่ ในระบบพื้นฐาน ของจีน แล้วยังกล่าวกันอีกด้วยว่าเป็นพลังทางโทรจิต ซึ่งสามารถมีความรู้สึก ถึงการรับรู้ ที่เหนือธรรมชาติ และมีการตอบสนองตามสัญชาตญาณ บางครั้งนาดิส สามารถขยายความรู้สึก ผ่านไปถึงผิวหนัง บนร่างกายได้ แต่มักถูกมองว่า เป็นการขยายอาณาจักร ขอบเขตไปยังในส่วนของออร่าแทน

▬ ไอด้า และพินการานาดิส ถูกเปรียบเทียบโดยการมองว่าคล้ายกับการทำงานของสมองสองซีก โดยพินการา เปรียบได้กับความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมจากภายนอก เสมือนแสงอาทิตย์ส่องภายนอกนาดิ ที่ทำงานสัมพันธ์ กับส่วนของสมองซีกซ้าย ในขณะที่ไอด้าเปรียบได้กับความใสใจต่อสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายใน หรือเสมือนแสงจันทร์ ส่องนาดิที่ทำงานกับส่วนของสมองซีกขวา

▬ ทำไมรัตนชาติจึงใช้บำบัดโรคได้ ในสมัยก่อน คนโบราณ ได้ใช้คริสตัล หรือหินสี บำบัดโรคมาแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากคริสตัล หรือหินสี มี 'พลัง' ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องซับซ้อน และมีหลากหลายทฤษฎี ที่กล่าวถึงเหตุผลของการบำบัดโรคโดยรัตนชาติ ดังนี้

▬ นาดิสทั้งสองถูกกระตุ้นให้ทำงานโดยการส่งเสริมจากพลังของลมปราณ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหายใจ จากโพรงจมูกด้านซ้ายและขวา โดยคล้ายกับการสลับเข้าไปกระตุ้นในส่วนของสมองทั้งสองซีก รากศัพท์ของคำว่า “ นาดิ” มาจากคำสันสกฤต ที่หมายถึง ช่องทาง, การเคลื่อน หรือ การไหล นั่นเอง ในธรรมเนียมทางการแพทย์ของจีนยังคงมีการยึดถือหลักการเดียวกันว่า องค์ประกอบของร่างกาย คนเรา คือระบบของพลังงาน ชนิดหนึ่ง

▬ ความคิดของคนในโลกยุคใหม่ก่อให้เกิดความสนใจในเรื่องของจักระมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบุคคล ที่อยู่ในโลกทางตะวันตก กลุ่มบุคคลเหล่านี้พากันตอบรับโดยใส่ใจในเรื่องของ ตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ของจักระ และยังรวมไปถึงระบบของต่อมไร้ท่อต่างๆ ที่อยู่ภายในร่างกาย บางคนในโลกยุคใหม่ยังประกาศบอกด้วยว่า ยังคงมีจักระเพิ่มขึ้น มาอีกหนึ่งจุด คือบริเวณที่อยู่ตรงตำแหน่งของหูอีกด้วย

▬ จักระได้ถูกอธิบายในความหมายในทางฮินดูเป็น Sat-Cakra-Nirupana และ Padaka-Pancaka โดยทั้งสองคำนี้ ก็หมายความถึงแหล่งกำเนิด แห่งการเรียนรู้จากบราแมน Brahman ซึ่งเป็นพลังงาน ที่ถูกตอกย้ำและ ผ่านทะลุหลั่งไหล มาจากจิตวิญญาณภายใน ก่อให้เกิดเป็นแนวเรียงของระดับที่แตกต่างกันของจักระ และท้ายที่สุดก็ไปบรรจบอยู่ตรงจุดของมูลธารจักระ

มูลธารจักระ Muladhara ตั้งอยู่ตรงบริเวญตำแหน่งของทวารหนักและระบบสืบพันธุ์ ซึ่งขยายออกแบบกลีบ ของดอกบัว ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงสี่แบบด้วยกัน คือ ความสดชื่นร่าเริง, ความชื่นชมยินดีกับธรรมชาติ, ความสุข ที่สามารถ ควบคุมอารมณ์ต่างๆได้ และความปิติยินดีอย่างมีสมาธิ ในลักษณะที่หมุนเวียนสลับกันไปมา

ในทางปรัชญาของ สัมคยา [Samkhya] , คำจำกัดความของมูลธารจักระ คือ ความเข้าใจในพื้นฐาน ทางธรรมชาติทางกายภาพ [Moolo Prakitti] มูลธารจักระ เป็นหนึ่งในจักระที่ดึงพลังงาน ทางจิตวิญญาณเข้ามา แล้วถูกสมมุติให้เกิดเป็นรูปธรรมทางกายขึ้นมา เปรียบเทียบได้อีกอย่างหนึ่ง ถึงประจุไฟฟ้าในขั้วลบซึ่งก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นวิวัฒนาการทางรูปแบบของกายภาพขึ้นมาได้

ส่วนภายในของจักระที่ยังคงนอนสงบนิ่งอยู่ คือ “ กุณฑาลิณี ชักติ” [Kundalini Shakti] ที่เป็นองค์ประกอบ ของจิตวิญญาณอันยิ่งใหญ่ ที่เฝ้ารอคอยการถูกกระตุ้น และถูกนำกลับมายังจุดเริ่มต้นของ บราแมน “Brahman”

มูลธารจักระ Muldhara มีพื้นฐานมาจากจิตวิญญาณสามช่องทางด้วยกัน คือ nadis , ida , pingala และ อุบัติขึ้นมาเป็น sushumna ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์ กับกระบวนการของการเกิดขึ้นใหม่และการขับถ่ายทิ้งไป และรวมไปถึง ความกลัวในรูปแบบต่างๆ และความรู้สึกผิดที่สลับซับซ้อนที่มีความเกี่ยวพันกัน Samskaras (กรรมที่แฝงเร้น) ซึ่งมีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน และแสดงออกมาในรูปแบบของร่างกายคนเรา

จักระนี้มีส่วนสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันกับ Indra, Brahma และ Dakini โดยมีองค์ประกอบของธาตุดิน และมีสีเป็นสีแดง

ดังนั้นทั้งหมดนี้จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งในทฤษฎีจุดก่อกำเนิด เช่นเดียวกันกับ kabbalah ในโลกตะวันตก และ ลัทธินิโอ-พลาโตนิซึ่ม เป็นในรูปแบบของพลังงานที่เกิดจากการถูกสร้างขึ้น เรียกว่า กุณฑาลิณี ที่กำลังหลับไหลอยู่ และขดตัวรอคอยอยู่ และจึงเกิดเป็นจุดมุ่งหมาย ของลัทธิโยคีของฮินดู ที่ต้องการ จะเรียนรู้วิธีการ ปลุกเร้าพลังงานนี้ขึ้นมา และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการ กระตุ้นพลังงาน อันซับซ้อน ในส่วนของจักระขึ้นมาได้ จนกระทั่งสามารถรวมจิต เป็นหนึ่งเดียวกัน กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนได้ จนบรรลุถึงจุดของสหัสธารจักระ ที่ครอบคลุมอยู่บน กลางกระหม่อมเหนือศรีษะ

▬ สหัสธารจักระ จัดอยู่ในตำแหน่งบริเวณเหนือศรีษะ หรือที่ยอดของศรีษะเลย และถูกแบ่งออกเป็น 1000 ชั้นกลีบ โดยมีระนาบที่เรียงกันอยู่ถึง 20 ระดับในหนึ่งชั้นกลีบ และในแต่ล่ะชั้นยังมีแบ่งออกไปอีก 50 กลีบ หากจะมาพิจารณา การนับในระดับชั้นของกลีบ(จักระ)แล้ว เรามักจะอ้างถึงจำนวนกลีบของดอกบัวที่มีอยู่เป็นพันๆกลีบ ซึ่งว่ากันว่า เป็นส่วน ที่ซับซ้อนที่สุด ในระบบของจักระเลยทีเดียว. สืบเนื่องมาจากการรับรู้อันบริสุทธิ์ ที่เกิดขึ้นมาจากจักระ โดยได้รับมาจาก ระดับชั้นในจักระที่ละเอียดอ่อนอีกต่อหนึ่ง เมื่อโยคีคนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย สามารถที่จะ ยกระดับของ กุณฑาลิณี ที่เป็นพลังงานแห่งการรับรู้ขึ้นมาได้ หากมาถึงจุดนี้ได้แล้ว...ก็จะสามารถรับรู้ถึงการมีสมาธิ และสัมผัสในประสบการณ์ ที่จิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เบื้องบนได้.

▬ นอกเหนือไปจากการอธิบายเบื้องต้นตามตำราทางอินเดียแล้ว, นักเขียนทางโลกตะวันตก ได้มีการอธิบายในเรื่อง ของจักระ ที่แตกต่างกันออกไป ส่วนใหญ่เป็นไปในทางของการออกความเห็นในแง่มุมของปรัญชาทางศาสนา นักเขียนในยุคใหม่หลายคน อย่างเช่น Danish และข้อเขียนอย่างนักดนตรีที่ชื่อ Peter Kjaerulff, กับการบันทึกใน Ring bearers หรือในหนังสือผู้แต่งวงล้อแห่งชีวิตของ Anodea Judith บุคคลเหล่านี้ได้เขียน และให้ข้อคิด ที่มีประโยชน์อย่างมากมาย เกี่ยวกับจักระ รวมถึงเหตุผลต่างๆของการเกิดสิ่งนี้ขึ้น และองค์ประกอบ ของการบำบัด รักษา ผ่านทางจักระ

▬ คนบางคนได้กล่าวถึงการมีจักระทั้ง 7 โดยสะท้อนให้เห็นถึงส่วนของการรับรู้ในตัวมนุษย์อย่างเป็นปึกแผ่น (ทั้งในส่วนของการ มีชีวิตที่เป็นอมตะ หรือในส่วนของจิตวิญญาณ), โดยมีการถูกจัดแบ่ง ส่วนต่างๆ ในองค์ประกอบ ของชีวิต ทางโลก (ร่างกาย, สัณชาตญาณ, พลังชีวิต, ความรู้สึกที่ลึกล้ำ, การติดต่อสื่อสาร, ความเข้าใจในภาพรวม ของชีวิต, การติดต่อกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่เบื้องบน) จักระถูกวางอยู่ใน ระดับตำแหน่ง ที่แตกต่างกัน อย่างสลับซับซ้อน เป็นนัยๆ ทางจิตวิญญาณ กับสหัสธารจักระที่อยู่บนสุด จะเป็นเรื่องการรับรู้อันบริสุทธิ์ และมูลธารจักระ ที่อยู่ในบริเวณ ตำแหน่งล่างสุด ซึ่งคล้ายกับเป็นการเปิดการรับรู้ที่ตอกย้ำแบบเจาะลึกถึงแก่น

กงล้อของจักระ (THE CHAKRA WHEELS)


1. สหัสธารจักระ Crown Chakra

2. อาชณะจักระ Brow Chakra

3. วิสุทธะจักระ Throat Chakra

4. อนาหตะจักระ Heart Chakra

5. มณีปุระจักระ Solar Plexus

6. สวาธิษฐานจักระ Spleen Chakra

7. มูลธารจักระ Spleen Chakra

ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการส่งผ่านของมวลสารจักระที่อยู่เหนือขึ้นไปจากสหัสธารจักระ แล้วยังเกิดมีส่วน ปลีกย่อยของจักระ เกิดขึ้นมาอีกมากมาย ตัวอย่างคือในระหว่างจักระหลักทั้งหลาย จักระที่ไหลผ่านเข้ามา คือจักระที่บรรดาผู้ฝึกหัด นั่งทำสมาธิ ก่อให้เกิดสหัสธารจักระในระดับที่อยู่เหนือศรีษะขึ้นไป กล่าวกันว่ามวลสาร ของจักระที่เกิดขึ้นนี้ อยู่เหนือขึ้นไปจากศรีษะของเราประมาณ 4 – 5 นิ้วมือ จักระนี้มีสายสัมพันธ์ร่วมกับจิตวิญญาณในแต่ละบุคคล รวมถึงสายสัมพันธ์ ของตัวตนที่สูงส่งยิ่งกว่า การมองเห็นมวลสารของจักระนี้ มีได้ถึงหลายระดับ ในแต่ละจักระ โดยจุดของจักระ ที่ต่ำสุดจะอยู่ในระดับของการวางนิ้วมือ 4 – 5 นิ้วด้วยกัน และส่วนที่อยู่สูงสุด ของจักระ จะอยู่สูงเหนือศรีษะ ขึ้นไปประมาณ 1 ฟุตได้ ในส่วนของมวลสารจักระ ที่อยู่สูงที่สุดจะถูกอ้างอิง หมายถึงจุดรวม ของดวงจิต มีแสงสว่างออกมาในรูปของ ดวงจิตวิญญาณ ซึ่งมีลักษณะ เป็นแสงแพรวพราวระยิบระยับ ดวงเล็กๆ ที่เราเคยมองเห็นกันมาก่อนในมโนภาพบางครั้ง โดยพื้นที่รอบนอก ที่เรามองเห็นจะอยู่ในลักษณะ ของญาณทิพย์

จุดกำเนิดและพัฒนาการของทฤษฎีจักระ

จักระเริ่มเป็นที่รู้จักและกล่าวถึงในตอนแรกของช่วงปลาย Upanishads ของลัทธิฮินดู โดยรวมไปถึง Brahma Upanishad และ Yogatattva Upanishad การเรียนรู้ทั้งหมดนี้ ถูกดัดแปลง หรือปรับเข้ากันกับ ศาสนาพุทธ ของทางธิเบตอีกด้วย โดยรู้จักกันเป็นทฤษฎีของ Vajrayana และทางทฤษฎีของ Tantric Shakta ของจักระ มันเป็นทฤษฎีของ shakta ซึ่งมีจักระจำแนกออกเป็น 7 รูปแบบ และกลายเป็นที่ยอมรับ โดยคนทางโลกตะวันตก ด้วยเช่นกัน จะเป็นด้วยการรับรู้ หรือไม่รับรู้ก็ตาม, เราต้องยกคำขอบคุณอันใหญ่หลวง ให้แก่คำอธิบาย ในสองบทความ จากภาษาอินเดีย คือ the Sat-Cakra-Nirupana และ the Padaka-Pancaka ซึ่งเขียนโดย Sir John Woodroffe กับผู้ช่วย Arthur Avalon ในหนังสือที่มีชื่อว่า The Serpent Power

หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและมีความสลับซับซ้อนที่ลึกซึ้ง แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนา ความคิดในเรื่องของจักระนี้ ออกไปอีกโดยกลุ่มนักการศาสนาทางปรัชญาในโลกตะวันตก และก่อให้เกิดมี การโต้แย้งกัน ใหญ่หลวง (ในวงล้อของปรัชญาทางศาสนา) ซึ่งเขียนโดย C. W. Leadbeater ในหนังสือชื่อเรื่อง จักระ ซึ่งเขียนขึ้นมาจากประสบการณ์ชีวิตส่วนตัวในการนั่งทำสมาธิของเขา และภาพนิมิตที่เขาสัมผัส

พูดกันว่าในปัจจุบันกลุ่มของผู้รู้ในอินเดียที่มองเห็นและเข้าใจจักระในระบบของเทววิทยา ต่างก็ไม่ได้ถึงกับปฎิเสธ ในมุมมองที่เกี่ยวกับเรื่องของจักระโดยคนทางโลกตะวันตกมากนัก ที่แน่ๆคือ สิ่งที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญๆ ก็ยังคงดำรงอยู่ ในระหว่างโลกของคนทางตะวันตกกับคนทางตะวันออก เพราะอิทธิพลที่ได้รับ การพัฒนา และเรียนรู้มาจากโรงเรียน Shakta Tantra ในอินเดียนั่นเอง.

ยังคงมีรูปแบบของจักระที่แตกต่างกันในวัฒนธรรมอื่นๆอีก ที่เห็นได้ชัดคือ ความเด่นของตำรับยาทางจีน และศาสนาพุทธ ในธิเบต แม้กระทั่งของชาวยิว kabbalah, และความแตกต่างของ Sephiroth ในบางครั้งจะสัมพันธ์ กับส่วนต่างๆ หรือ องค์ประกอบอื่น ๆ ในร่างกายคนเราอีกด้วย

ในทางศาสนาอิสลามลัทธิซูฟิซึ่ม, Lataif-e-Sitta ( นัยะหกประการ) จะพิจารณาในรูปแบบของ จิตวิทยา ของจิตวิญญาณ “ สรีระ” หรือองค์รวมทั้งหมดแห่งความรู้สึก กับความสามารถที่จะมองเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ เกิดการกระตุ้นที่ทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

มีความพยายามที่จะกระทำให้ระบบต่างๆสามารถปรับตัวเข้าหากันและกันได้, โดยบางส่วนก็ประสบความสำเร็จ แม้กระทั่งในระหว่างการรวมขนบธรรมเนียมประเพณีของทาง Shakta Tantra, Sufism และ kabbalism โดยที่มี จักระ, lataif และ Sephiroth เข้ามาร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของระดับการเรียนรู้ทางด้านของจิตวิญญาณได้

ในส่วนของโยคะแบบ Surat Shabda , ได้มีการนำเสนอความจริงโดยครูผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก Satguru [Sat= ความจริง, Guru = ครูผู้รู้] โดยพัวพันถึงการเชื่อมโยงทางจิตวิญาณกับทาง Shabda และการเป็นอยู่ภายในของมาสเตอร์ Shabda (ในรูปแบบรัศมีของผู้เป็นนาย) โดยมีตำแหน่งอยู่ ณ ดวงตาที่สามของจักระ

จักระในมุมมองของโยคะ z

จักระและระบบของต่อมไร้ท่อ

เหมือนจะมีเส้นคู่ขนานที่ถูกดึงออกมาจากกลุ่มที่ให้การสนับสนุนความเป็นตัวตนของจักระ ในระหว่างตำแหน่ง และการทำงานของจักระ และองค์ประกอบของอวัยวะในส่วนต่างๆของระบบต่อมไร้ท่อ

สหัสธารจักระที่อยู่สูงที่สุดถูกกล่าวว่าเป็นจักระแห่งการเรียนรู้, เจ้านายของจักระเป็นผู้ควบคุมจักระในส่วนต่างๆ โดยมีบทบาทในการทำหน้าที่ที่เรียบง่ายมาก ไม่ต่างกับระบบต่อมใต้สมอง [pituitary gland] , ซึ่งก็คือสารหลั่ง ฮอร์โมนจะ เป็นตัวเข้าไปควบคุม การทำงานทั้งหมด ของระบบต่อมไร้ท่อ และยังมีการเชื่อมโยง ไปยังศูนย์กลางของ ระบบประสาทผ่านทาง ฮิปโปทาลามัสอีกด้วย ทาลามัสถูกมองเป็นกุญแจหลัก ที่จะนำมาซึ่งการับรู้ บนพื้นฐานทาง สรีระของร่างกายคนเรา

ดวงตาที่สาม หรือ Ajna Chakra เป็นส่วนที่เชื่อมโยงกับโคนต่อมใต้สมอง Ajna เป็นจักระ ของกาลเวลา และการรับรู้ และความสว่าง โคนต่อมใต้สมองนี้มีความรู้สึกสัมผัส ที่บางเบา สามารถสร้างฮอร์โมน มิลาโทนิน ที่ช่วยก่อให้ เกิดสัญชาตญาณ ของการหลับไหลที่เร็วขึ้น หรือการถูกปลุกขึ้นมาได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนในการ ช่วยสร้างสายใยของสารเคมี ที่ช่วยให้เกิดการรับรู้กับการมองเห็นขึ้นได้

(หมายเหตุ : มีบางคนยังคงโต้แย้งเรื่องโคนต่อมใต้สมองและต่อมใต้สมอง ว่าน่าที่จะสับเปลี่ยน ความสัมพันธ์กัน ในระหว่างสหัสธารจักระ และอาชณะจักระได้ โดยอาศัยพื้นฐานมาจากการอธิบายในหนังสือของ Arthur Avalon ในเรื่องของ กุณฑาลิณี ที่ชื่อว่า Serpent Power )

วิสุทธะจักระ [Vishuddha] ถูกมองว่าเป็นความสัมพันธ์กันระหว่างการสื่อสารความเข้าใจและการเจริญเติบโต, โดยการเติบโต เกิดเป็นในรูปแบบของการแสดงออกทางสรีระ ตำแหน่งของจักระส่วนนี้ อยู่ขนานกัน ระหว่าง ต่อมไทรอยด์ และ ต่อมที่อยู่ภายในลูกกระเดือกซึ่งเป็นจุดที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ออกมา ทำให้ลูกกระเดือก เจริญเติบโต และแสดงออกถึงความเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์

อนาหตะจักระ [Anahata] ตำแหน่งของจักระนี้อยู่ตรงหัวใจ สัมพันธ์กับความรัก, ความเท่าเทียมกัน และความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์แบบ ต่อมที่ได้รับผลโดยตรงคือต่อมไทมัส ตรงระดับอกของเรา ส่วนนี้เป็นอวัยวะ ของระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อ ช่วยในการเสริมสร้าง ทีเซลที่สามารถ ต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ได้ และมีส่วนในการช่วยลดอาการเครียดได้อีกด้วย

มณีปุระจักระ [Manipura] เกี่ยวข้องโดยตรงในเรื่องของพลังงาน, การดูดกลืน และการย่อยสลาย และกล่าวว่า ยังเป็นพลังงาน ในการสร้างความสัมพันธ์กับส่วนอื่นๆ โดยตับอ่อน และภายนอกที่เป็นต่อมหมวกไต และชั้นเปลือกนอก ของต่อมหมวกไต ทั้งสองมีคุณสมบัติ ที่ช่วยในเรื่องของการย่อยสลาย, การปรับสภาพ ของอาหารที่ทานเข้าไป ให้กลายเป็นรูปของพลังงาน ในร่างกายของคนเรา

สวาธิษฐานจักระ [ Swadhisthanna] อยู่ในตำแหน่งที่ต่ำจากสะดือ และมีความสัมพันธ์ทางความรู้สึก, ความสัมพันธ์ ทางเพศและการสร้าง จักระนี้เป็นส่วนที่จะทำให้เรารู้สึกได้ถึงอาการปวดมนที่เกิดขึ้นในท้อง หรือในรังไข่เรา, และมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนทางเพศ ที่สัมพันธ์ในการสร้างจุดกำเนิดของชีวิต

พื้นฐานหรือรากเหง้าของมูลธารจักระ, Muludhara เชื่อมโยงถึงความรู้สึกที่ปลอดภัย, การเอาตัวรอด และ บนพื้นฐาน แห่งศักยภาพของการดำรงชีวิตในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง กล่าวกันว่า กุณฑาลินี นอนขดตัวอยู่ที่นี่ โดยพร้อม ที่จะถูกปลดปล่อย และนำพามนุษย์กลับขึ้นไป สู่จุดสูงสุดของจิตวิญญาณในสหัสธารจักระ จุดศูนย์กลางของ มูลธารจักระนี้ อยู่ตรงบริเวณระหว่างทวารหนักและต่อมสืบพันธุ์ แม้ว่าจะไม่มีอวัยวะ เกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ ตรงบริเวณนี้ ก็ตาม กล่าวกันว่ายังคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ กับภายในของต่อมหมวกไต, แกนในของต่อมหมวกไต มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการต่อสู้ หรือวิ่งหนีเพื่อเอาตัวรอดในระหว่างที่มีเหตุร้าย ในบริเวณแห่งนี้จะมีกล้ามเนื้อ ที่คอยควบคุมการปฏิบัติ ภารกิจทางเพศ การหลั่งเชื้ออสุจิ เป็นเส้นคู่ขนานกัน ระหว่างตัวอสุจิ และรังไข่ ของหญิงสาว ณ ที่ซึ่งเป็นจุด ที่มีการขดตัว ด้วยการรอคอย และเป็นตำนานของ กุณฑาลินี ที่พร้อมจะตอบรับการแสดงออก ในรูปของการกำเนิดชีวิตใหม่ ให้กับมนุษย์

ทฤษฎีจักระ เป็นลัทธิหนึ่งของ นิโอโลจิซึ่ม ซึ่งในบางครั้งอาศัยการอ้างอิง เข้ากับการสับเปลี่ยน การรักษาแทนการใช้ยาโดยกลุ่มเภสัชกร หรือเกิดจากความเข้าใจ เฉพาะในกลุ่ม ของนักปรัชญากับการศึกษา ในเรื่องของจักระ นอกจากนี้แล้ว ยังมีความแตกต่างกัน ในเรื่องของจักระอีกมากมาย บ้างก็มีพื้นฐานที่สืบมา จากวัฒนธรรม ประเพณีเฉพาะ กลุ่มของทางศาสนาฮินดูโบราณในอินเดีย, การแปลความหมาย ของจักระโดย กลุ่มคนรุ่นใหม่, หรือโดยผ่านการวิเคราะห์จาก โลกทางตะวันตก และยังรวมไปถึง สมัยกรีกยุคโบราณ และการอ้างอิงถึงกลุ่มคนคริสเตียน. นักเทววิทยาชาวโคเอเซียที่รู้กับเพียงไม่กี่คน และอย่างนักฟิสิกส์ชื่อ Arvan Harvat ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเป็นเรื่องที่ยากมาก ที่จะพัฒนาหรืออธิบายในทางวิทยาศาสตร์ กับวิธีการของจักระ ให้มีความสอดคล้องต่อกัน และกันอย่างเหนียวแน่น ต่อการที่จะรวมองค์ประกอบต่างๆในจักระเข้าไว้ด้วยกัน

จักระในแนวทางของศาสนาพุทธหรือฮินดู TANTRIC CHAKRAS

ตันตรา ( Shakta or Shaktism ) อธิบายถึงการมีจักระทั้ง 8 อยู่ภายใน
1. Sahasrara (สหัสสาระ)
2. Ajna (อาชนะ)
3. Vishuddha (วิสุทธะ)
4. Anahata (อนาหตะ)
5. Manipura (มณีปุระ)
6. Swadhisthana (สวาธิษฐาน)
7. Muladhara (มูลธาระ)
8. Bindu (บินณ์ดุ)

ทฤษฎีต่าง ๆ THEORIES

ความเข้าใจของนักปรัชญาในโลกตะวันออก ต่างพากันคิดว่าจักระไม่มีตัวตน อยู่ในวิทยาศาสตร์ ทางการแพทย์ ของโลกตะวันตก ส่วนความคิดของคนทางตะวันออกนึกถึงจักระที่แบ่งออกเป็นหลายระดับชั้นด้วยกัน เป็นระดับแห่งการรับรู้ในรูปแบบต่างๆ, ในระดับของจิตวิญญาณ, และการพิสูจน์ว่าจักระนั้นมีอยู่จริง และเกิดขึ้นจริง จนถึงในระดับฝ่ายวิญญาณ ความลึกลับซับซ้อนอย่างหนึ่ง ของสิ่งที่เรียกว่าเป็นการรับรู้ที่เหนือธรรมชาติ และหาเหตุผลที่ดีมาอธิบายไม่ได้ ราวกับว่าเป็นแบบอย่าง ของประสบการณ์ ที่เกิดขึ้นมาจาก ภายในตัว ของบุคคลคนหนึ่ง และเมื่อมีการพูดถึงเกี่ยวกับ “ พลังงานจากจุดศูนย์กลาง” ก็จะเป็นการกล่าวโดยรวม เกี่ยวกับความนัย, พลังของจิต ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับ ความรู้สึกนึกคิด และจิตวิญญาณ โดยที่ไม่มีอะไร เกี่ยวข้องกัน กับระดับของกระแสไฟฟ้าในร่างกาย หรือสนามพลังของแม่เหล็กแต่อย่างใด

สิ่งที่สำคัญประการแรกและระดับของการมีจักระ ถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งทางสัญชาตญาณ และจิตวิญญาณ อย่างไรก็ตาม ยังมีคนบางกลุ่มที่มีความเชื่อว่า จักระเองยังมีตัวตนที่แสดงออกมาให้เห็นได้เช่นกัน ถึงแม้จะ ยังไม่มีหลักฐาน ที่ชัดเจนในความเล้นลับที่คนอินเดีย ได้นำเรื่องเหล่านี้เข้ามาเชื่อมโยงด้วยกัน, เป็นที่น่าสังเกตุ จากหลายฝ่าย ว่ายังคงมีสิ่งที่คล้ายคลึงกัน ในระหว่างตำแหน่ง และบทบาทหน้าที่ของจักระ และยังรวมไปถึง ตำแหน่งต่างๆ และหน้าที่บทบาท ของระบบที่อยู่ในต่อมไร้ท่อ และในตำแหน่งต่างๆ ของเนื้อเยื่อ ระบบประสาท (หรือที่รู้จักในนามของ “ เส้นใยประสาท” ) ที่ฝังตัวอยู่ในกระดูกสันหลัง มีความเป็นไปได้ ที่ทั้งสองระบบที่แตกต่างกัน จะถูกเปิดออกโดยการรับรู้ที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นเหตุการณืทางธรรมชาติจากภายใน ในบางครั้งจักระเอง ก็ถูกคิดว่ามีตัวตนที่แสดงออกมาได้ ภายในร่างกายตามต่อมต่างๆ และการแสดงตัวตนออกมา เหล่านี้นั้น มีส่วนที่เชื่อมโยงกับประสบการณ์ ในทางจิตวิทยา และชีวิตทางจิตวิญญาณ อีกด้วย

แน่นอนทีเดียวว่าความลึกลับของฮอร์โมนในส่วนของต่อมต่างๆ จะมีผลกระทบในทางจิตวิทยากับมนุษย์เรา และถ้าหากว่าฮอร์โมนเหล่านั้นขาดความสมดุลขึ้นมา ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางจิต หรือทำให้ร่างกาย ของคนบางคนเกิดการทรุดโทรมได้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ของจิตวิญญาณ หรือมาจากการไม่เห็นด้วยของนักทฤษฎีจากอินเดีย และความแตกต่างของในระบบแห่งการรับรู้, ชาวอินเดีย หรือ ชาวตะวันตก, ก็เป็นเพียงการเข้าไปถึงในบางส่วนของกรณีที่ว่านี้

แต่ทว่าในบางทีการแสดงออกในเชิงจิตวิทยาและความลึกลับของต่อมต่างๆ ที่แลดูเข้มแข็งกลับกลาย มาเป็นการพึ่งพาอาศัยยา ในการรักษาของ DMT ( ซึ่งถูกปรับให้กลมกลืนกับ ต่อมใต้สน ที่มีส่วนสัมพันธ์ กับอาชณะจักระ) อย่างน้อยๆ คนบางกลุ่มในทางโลกตะวันตก ต่างเคยเห็น การแตกออก เป็นเสี่ยงของดวงวิญญาณ จากการพยายาม นำเอาเคมีบำบัดเข้ามาใช้ในการรักษา, ซึ่งเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นคล้ายกับว่า ความเป็นอยู่ และการมีตัวตน ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในแง่มุมนี้



หนังสืออ้างอิง :
Morgen, Robert (2005). Personal Mastery: Develop Your True Inner Power by Awakening Your Kundalini, 1st, Windhaven Press
Sharp, Dr. Michael (2005). Dossier of the Ascension: A Practical Guide to Chakra Activation and Kundalini Awakening, 1st, Avatar Publications

ความถี่ของสีในจักระ เอเอ็มดี CHAKRAS AMD COLOR FREQUENCES

RED : สีแดง มูลธารจักระ กุณฑาลิณี หรือ Root (Base Chakra) อยู่ตรงบริเวณฐานของกระดูกสันหลัง ประกอบไปด้วยเซลเบื้องต้นถึง 8 ชนิด จุดนี้เป็นรากฐานของพลังชีวิตของร่ายกายมนุษย์ และเป็นกลุ่มของเซลที่เหลือที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของเราตลอดชีวิต จักระนี้นำเราเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง

ORANGE : สีส้ม สวาธิษฐานจักระ หรือ Spleen ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำจากสะดือลงมา และมีความสัมพันธ์เชื่องโยงถึงความรู้สึกทางเพศของเราและความสามารถที่จะสืบพันธุ์ จุดหักเหที่เกิดขึ้นในบางครั้งคือปัญหาของความรู้สึกผิดชอบชั่วดีจากการมีเพศสัมพันธ์

YELLOW : มณีปุระเป็นสีเหลือง ธาตุไฟ มณีปุระจักระ หรือ The Solar Plexus Chakra ศูนย์รวมแห่งอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ให้ความรู้สึกถึงการมีความมั่นใจในตนเองอย่างแรงกล้า ในทางกลับกันก็แสดงออกให้เห็นถึงอารมณ์โกรธ หรือความร���้สึกที่ต้องตกเป็นเหยื่อรับเคราะห์กรรม

GREEN : อนาหตะ เป็นสีเขียวและชมพู อนาหตะจักระ หรือ The Heart Chakra หากถูกปิดกั้นจะมีการแสดงออกในรูปภูมิคุ้มกัน หรือเกิดมีปัญหาทางใจ หรือว่าไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆเกิดขึ้นเลย


ใจกลางของหัวใจ – อยู่ในตำแหน่งของดวงวิญญาณที่อยู่ในขวดแก้วของกาลเวลา-มีค่าเป็นศูนย์

BLUE : วิสุทธะหรือจักระคอ เป็นสีฟ้า บริเวณคอหอย : มีความสัมพันธ์ในการสร้างสรรและการสื่อสาร รับรู้ถึงความรู้สึกที่ถูกกดดันเมื่อขาดการประสานงานติดต่อกันในกระบวนการทางความรู้สึกที่สมบูรณ์

INDIGO : สีน้ำเงินเข้ม ดวงตาที่สาม : ตรงโคนต่อมใต้สมอง หรือต่อมเม็ดสน: เป็นรูปลักษณะของดวงตาที่สามารถมองเห็นถึงอนาคตได้

PURPLE : สหัสธารหรือจักระมงกุฎ จักระสีม่วง จักระมงกุฎ : เป็นธาตุแห่งความรู้ของจุดเชื่อมต่อไปยังเบื้องบนที่อยู่สูงกว่า เกี่ยวข้องกับสติปัญญาและความรู้สึกนึกคิด รับรู้ความกดดันที่อยู่เหนือบริเวณศรีษะได้

สัญลักษณ์ต่างๆจากความฝัน DREAM SYMBOLS

มูลธารจักระ – จุดที่ตั้งคือตรงต่อมสืบพันธุ์, สีแดง, ความอยู่รอด, ความอยู่รอด, ติดดิน, ความสงบเงียบ, สัตว์สัญลักษณ์คือ ช้าง, ธาตุดิน

สวาธิษฐานจักระ – เป็นจักระคู่อยู่ด้านหน้าอยู่ระหว่างท้องกับท้องน้อยเหนือหัวเหน่า, สีส้ม, ธาตุน้ำ, ความรู้สึกทางอารมณ์, ความปรารถนา, ระบบสืบพันธุ์, น้ำตา, สัตว์สัญลักษณ์คือ จรเข้, ดวงจันทร์

มณีปุระจักระ – เป็นสีเหลือง, ธาตุไฟ, ความมุ่งมั่น, มีอำนาจ, อารมณ์โกรธ, ความร่าเริง, การหัวเราะ, สัตว์สัญลักษณ์คือ แกะ , พระอาทิตย์ เป็นจักระคู่ด้านหน้าอยู่เหนือลิ้นปี่ ด้านหลังอยู่ตรงกัน เกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะและระบบประสาทอัตโนมัติ

อนาหตะจักระ – ตำแหน่งที่หัวใจ, สีเขียว, ธาตุลม, ความรัก, ความสมดุล, ความเห็นอกเห็นใจ, สัญลักษณ์ของละมั่ง

วิสุทธะหรือจักระ - คอ, เป็นสีฟ้า, ตำแหน่งที่ลูกกระเดือก, ธาตุอากาศ, เสียง, การสื่อสาร, การสร้างสรรค์, การขยายอาณาเขต, ความตื่นเต้น, สัตว์สัญลักษณ์คือ กวาง

อาชณะจักระหรือดวงตาที่สาม – อยู่บริเวณกลางหน้าผาก, ธาตุแสงสว่าง, สีน้ำเงินเข้ม, การมองเห็นล่วงหน้า, รับรู้ในพลังลึกลับได้, มีจินตนาการ, มีความฝัน, สัตว์สัญลักษณ์คือ นกฮูก

สหัสธารหรือจักระมงกุฎ ตั้งอยู่กึ่งกลางกระหม่อมบนศีรษะ ,จักระสีม่วง, เป็นธาตุหยั่งรู้, สัมพันธ์กับ โลกฝ่ายวิญญาณ, มีความเข้าใจลึกล้ำ, มีพรพิเศษ, สื่อกับพระเจ้าเบื้องบนได้

จักระต่าง ๆ และเสียง CHAKRAS AND SOUND

ความถี่ของสีในจักระมีส่วนกระหนาบคาบเกี่ยวอยู่กับเสียงสัญญาณของดนตรี
No Chakra Note Color
8 C '
7 Crown B Violet
6 Third Eye / Brow A Indigo
5 Throat G Blue
4 Heart F Green
3 Solar E Yellow
2 Sacral D Orange
1 Base C Red

เสียงประสานกันในขันคริสตัลและจักระ CRYSTAL BOWL HARMONICS AND CHAKRAS

การใช้ผลึกจากขันคริสตัลเพื่อนำมาทำการปรับจูนเสียงอย่างถูกต้องสามารถกระตุ้น และทำให้จักระเรียงตัวมาอยู่ในแนวเดียวกันได้
คริสตัลสีต่างๆเมื่อนำมาาวางบนตำแหน่งของแต่ละจักระ จะนำมาซึ่งความสมดุล และก่อให้เกิดเป็นโครงสร้างสายใยในการบำบัดรักษาขึ้นมาได้
บุคคลสองคน
คนที่รักกันสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในระบบของจักระได้

เครือข่ายของสายใยและสนามพลังออริค
วงกลมที่ถูกครอบและจักระต่าง ๆ
วงกลมที่ถูกครอบส่วนอยู่นี้แสดงให้เห็นถึง 12 จักระและการกระตุ้นในส่วนของดีเอ็นเอของเรา
ระบบจักระในธาตุดิน

ในทางโลกถือได้ว่ามีจักระเป็นศูนย์กลางที่อยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงตามจุดสำคัญของเครือข่ายหลัก [ เมอร์ริเดียน] โดยมีรากฐานมาจาก ปูชนียวัตถุทรงเรขาคณิต
จักระต่างๆในตัวเราถูกจัดเรียงอยู่ในระบบเครือข่ายของโลก
เหนือขึ้นไป และต่ำลงมา – เอกซ์ เฮอร์มิส
กุณฑาลินี ใช้สัญลักษณ์ งู, - ดีเอ็นเอ- มังกร, งู ฯลฯ
โยคะช่วยเสริมสร้างความสมดุล

บทเพลงการทำสมาธิจักระโดย เอลลี
▬ ออร่า
▬ สีต่างๆ
▬ ภาพถ่ายของ เคอร์เลียน
▬ สะพานสายรุ้ง
▬ สารบัญการบำบัดและพลังงาน