การพิจารณาเลือกซื้อ 'โอปอล (Opal)'

โดยทั่วไป โอปอลจะมีการเจียระไน เป็นรูปโค้งหลังเต่า หลังเบี้ยแบนราบ หรือรูปแกะสลักต่างๆ เป็นต้น โอปอลที่เจียระไนแล้ว จะซื้อขายเป็นกะรัต อาจจะนำมาทำ เป็นเครื่องประดับ เป็นแหวน สร้อยคอ ตุ้มหู เข็มกลัด จี้ ฯลฯ โอปอลที่ดี ควรจะมีหย่อมสี หลายๆ สี เป็นประกายสี คล้ายสีรุ้ง ในเนื้อทั้งหมด มีความสว่าง ไฟ ไม่หม่นหมอง หรือไม่มีสีด้านทึบ พื้นฐานด้านหลัง (ส่วนใหญ่เป็น ส่วนที่แบนราบ) สะอาด ไม่มีรอยแตกร้าว ขูดข่วนใดๆ

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อโอปอล เนื่องจากโอปอล นับเป็นรัตนชาติที่มีคุณค่าราคาแพง และหายาก จึงได้มีวิธีการต่างๆ ที่จะช่วยในการซื้อขายโอปอล ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการ ที่ถูกต้อง ยอมรับโดยทั่วไป หรือไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย จึงควรระมัดระวังใน การเลือกซื้อ เลือกขาย ด้วยกรรมวิธีต่างๆ ได้แก่

1. การประกบ

1.1 การประกบ 2 ชั้น (Doublet) จะนำเอาโอปอลที่สวยงาม มีราคา แต่อาจจะบางเกินไป หรือมีประกายไฟไม่พอ หรือมีสีสวยไม่พอ นำไปประกบ กับรัตนชาติ หรือวัตถุใดๆ ชนิดที่มีสีเข้ม หรือมืด ให้เป็นส่วนพื้นฐาน เช่น ควอตซ์ หยก แก้ว โอปอล เซรามิก ออบซิเดียน เป็นต้น ติดด้วย กาวอีพอกซีสีดำ จะทำให้โอปอลมีสีสันสวยงามขึ้น

1.2 การประกบ 3 ชั้น ( Triplet ) จะเหมือนกับ การประกบ 2 ชั้น เพียงแต่ปิดด้านบน ของโอปอล ด้วยควอตซ์ชนิดใส หรือแก้วอีกที (ส่วนมากใช้ควอตซ์) ก็จะมีลักษณะสามชั้น ซึ่งนอกจาก ความสวยงามที่เพิ่มขึ้นแล้ว ความคงทนถาวร จะเพิ่มขึ้นมากด้วย อาจจะสังเกต หรือตรวจดูได้ว่า โอปอลนั้นจะเป็นเนื้อเดียวกัน หรือประกบหรือไม่ เช่น ดูความหนาของโอปอล ดูรอยต่อ ของการประกบ ทางด้านข้างของพลอย (ประกบ 3 ชั้น จะสังเกตได้ง่ายกว่าประกบ 2 ชั้น) ดูฟองอากาศ ระหว่างระนาบรอยต่อ หาความถ่วงจำเพาะ ที่ควรจะเป็นของโอปอลจริงๆ (โอปอลเป็นแร่เบา ถ.พ. ต่ำ ถ้ามีการประกบ อาจจะหนักกว่า ความเป็นจริง) เป็นต้น แต่ในบางครั้ง เอาโอปอลสังเคราะห์มาประกบกันก็มี

2. การปรับปรุงคุณภาพ

เพิ่มคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่อง ของสี ซ่อนรอยแตก วิธีการต่างๆ ได้แก่ การจุ่มอาบ ในสารไร้สี (colorless impregnation) การย้อมสี โดยเทคนิควิธีการต่างๆ เช่น การจุ่มอาบ ด้วยน้ำเชื่อม และกรด (sugar acid process) การอาบอบด้วยควัน (smoke process) การจุ่มอาบด้วย พลาสติกสีดำ (black plastic impregnation) การจุ่มอาบด้วย สารละลาย ซิลเวอร์ไนเตรต (silver nitrate impregnation) เป็นต้น การอบด้วย ความร้อน การทาสี การปะด้าน หลังด้วยมุก ขนนก เป็นต้น วิธีการต่างๆ เหล่านี้ สามารถทำได้ทั้งในโอปอลธรรมชาติ โอปอลสังเคราะห์ แร่ หรือวัตถุ ที่ทำเลียนแบบโอปอล การสังเกตตรวจโอปอที่ผ่านการเพิ่มคุณภาพต่างๆ เหล่านี้ บางทีอาจจะยาก ในการตรวจแบบธรรมดา ด้วยตาเปล่า อาจจะต้องใช้ความรู้ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์ช่วย ในการตรวจ

3. การสังเคราะห์และการทำเทียมเลียนแบบ

โอปอล ได้แก่ สโลคัม สโตน (slocum stone) หรือ โอปอเอสเซนต์ (Opal Essence) เริ่มมีในตลาด พลอยเมื่อปี 2519 โดยการผลิตของ Mr. John Slocum โอปอลสังเคราะห์ (Synthetic opal) โดยการผลิตของ Pierre Gilson แห่งฝรั่งเศล ได้เข้าสู่ตลาดพลอยในปี 2517 วัตถุทำเทียมเลียน แบบโอปอล เช่น แก้ว พลาสติก เป็นต้น

เนื่องจากโอปอล เป็นรัตนชาติ ที่มีเนื้ออ่อนไม่คงทน เปราะ แตกหัก ขูดรีดเป็นรอย และมีสีจางลง ไม่มีประกายได้ง่ายด้วย จึงควรระวัง เป็นพิเศษ เช่น ในรูปเครื่องประดับ ต่างๆ อย่าให้มีการเสียดสี กระแทก อย่านำไปตากแดด หรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิ เปลี่ยนแปลงมาก อาจจะแช่เก็บไว้ในน้ำ หรือน้ำมัน หรืออาจจะทำ เป็นประกบ 3 ชั้นก็ได้ เป็นต้น

(จาก Rock-Hut information)