การพิจารณาเลือกซื้อ 'หยก (Jade)'

การซื้อหยก มักจะคิดราคาต่อชิ้น ดังนั้นราคา จึงไม่มีมาตรฐาน กำหนดชัดเจน อาจจะขึ้นกับความพอใจ และการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย บางทีราคาหยก อาจจะแตกต่างกันมาก หรือไม่แตกต่างกัน เลยระหว่างหยกคุณภาพดี สีสวย กับหยกธรรมดา โดยทั่วไปหยก ที่มีขนาดใหญ่กว่า หรือหนากว่า ก็จะมีราคาสูงกว่า หยกที่มีขนาดเล็ก หรือบางกว่า ในคุณภาพเดียวกัน

สำหรับหลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อหยก ที่พอจะบอกกล่าว ได้พอสังเขป ได้แก่ การพิจารณาในเรื่องสีของหยกเช่น ชนิดสี องค์ประกอบของสี เป็นต้น ความโปร่ง เนื้อหยก ตำหนิ รูปแบบฝีมือการเจียระไน ขัดมัน หรือแกะสลัก

1. สี

สำหรับในพวกที่มีสีเขียวต่างๆ ที่จัดว่าคุณภาพดี เช่น เขียวมรกต เขียวแอปเบิ้ล เขียวอมเหลือง เขียวอมเทา เป็นต้น ความเข้มของสี ควรจะมีระดับปานกลาง หรือกึ่งเข้ม ไม่จาง หรือมืดเกินไป หรือด้านหม่นหมอง ควรมีความกลมกลืน กระจายสม่ำเสมอ สีราบเรียบ ตลอดทั่วเนื้อหยก ไม่มีจุดรอยด่างของสีเป็นบริเวณ ส่วนหยกสีอื่นๆ ก็พิจารณาทำนองเดียวกัน เรื่องของสีจัดเป็น ข้อพิจารณา สำคัญในการเลือกซื้อ ต่อรองราคา กำหนดราคาหยก

2. ความโปร่ง

เนื้อหยกที่มีความโปร่ง เป็นที่นิยม ได้แก่ โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง โปร่งใส ซึ่งเป็นการพิจารณา เกี่ยวกับการที่ สามารถมองเห็น เนื้อในหยกได้ชัดเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ความสามารถในการที่แสง จะสามารถส่องทะลุผ่านได้มากน้อย เท่าใดนั่นเอง ควรเลือกซื้อหยก ที่มีความโปร่งมากกว่า ในกรณีที่หยก มีสีเดียวกันเหมือนกัน แต่สำหรับหยก ที่มีสีสดสวย แต่ไม่ค่อยโปร่ง กับหยกที่มีความโปร่งสูง แต่มีสีไม่ค่อยสวย เราควรเลือกซื้อหยก ชนิดที่มีสีสวยกว่า

3. เนื้อแร่

หมายถึง ความละเอียด หรือความหยาบ ของแร่ที่ เกาะประสานกันในเนื้อหยก ควรจะเลือกหยก ที่มีเนื้อแร่ละเอียดมากกว่า เพราะจะมีความโปร่ง มากกว่าหยกที่มีเนื้อแร่หยาบ ลักษณะเนื้อแร่ กับความโปร่ง มักจะไปด้วยกัน กล่าวคือ หยกที่มีเนื้อแร่ ผลึกเล็กละเอียด ประสานกันแน่น มักจะทำให้เกิด มีความโปร่งมาก หยกที่มีเนื้อแร่ ผลึกใหญ่หยาบ มีการประสานไม่ค่อยดี ก็มักจะไม่ค่อยโปร่งเป็นต้น

4. ความวาว

เลือกหยกที่มีความวาวเหมือนไข เหมือนน้ำมัน มีความนุ่มนวล เหมือนปุยนุ่น ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไป ของหยกเนื้อละเอียด มีความโปร่ง ถ้าพบหยกที่มี ความวาวเหมือนแก้ว ก็จะยิ่งดี เพราะหมายถึงหยก คุณภาพดี เนื้อละเอียด มีความโปร่งสูง (ค่อนข้างหายาก)

5. ตำหนิ มลทิน

ไม่ควรเลือกซื้อหยก ที่มีตำหนิต่างๆ เช่น ลักษณะรอยแตก รอยขูดร้าว รอยปะ รอยขีดข่วนต่างๆ ลักษณะจุดสี หย่อมสี รอยด่างของสี (ขาว หรือดำ) เป็นต้น กล่าวคือ เลือกหยก ที่มีตำหนิดังกล่าว น้อยที่สุด ขนาดเล็กที่สุดนั่นเอง หยกที่ตำหนิ มลทินต่างๆ มาก จะทำให้ความสวยงาม ลดลงเช่นกัน 6. การเจียระไน ขัดมัน แกะสลัก ควรพิจารณาดูความกลมกลืน ความสมบูรณ์ของรูปแบบ สัดส่วน ความสมดุล ความมีเอกภาพของรูปแบบ ซึ่งอาจจะขึ้นกับรสนิยม ทางศิลปะของแต่ละคน แต่ละยุคสมัยด้วย

ข้อควรระวังในการเลือกซื้อหยก

1. การซื้อกำไลหยก ก็พิจารณาตามหลักเกณฑ์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น และความหนา ของกำไล ควรจะมีขนาดอย่างน้อย ประมาณ ขนาดมวนบุหรี่ทั่วไป ซึ่งอาจจะช่วย ลดการแตกได้

2. ปัจจุบันนี้ได้มีวิธีการปรับปรุง เพิ่มคุณภาพของหยก (ในเรื่องของสีเป็นส่วนใหญ่) หรือการทำเทียม เลียนแบบหยก ด้วยแร่ หรือ วัสดุต่างๆ เช่น การย้อมสี การทำปลอม การเลียนแบบ เป็นต้น ซึ่งจะขอกล่าวเพียงเล็กน้อย

2.1 การย้อมสี ส่วนใหญ่จะย้อมเป็น หยกสีเขียว หรือ สีม่วง จะมีเทคนิค วิธีการต่างๆ ที่ทันสมัยมากมาย อาจจะใช้สีที่ คงทนถาวร หรือไม่คงทน และบางที ก็ยากเกินกว่า ที่จะตรวจสอบ ด้วยตาเปล่า หรือกรรมวิธีง่ายๆ อาจจะต้องใช้เครื่องมือ และวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย เช่น ใช้เครื่องสเปคโตรสโคป เป็นต้น

2.2 การทำเทียมเลียนแบบ คือ การนำเอาแร่ชนิดอื่นๆ วัตถุ หรือสิ่งที่มีลักษณะ คุณภาพคล้ายหยก นำมาย้อมสี ให้ดูเหมือนเป็นหยก หรือขายในชื่อของหยก ที่พบมากเห็นจะเป็น แร่ควอตซ์ ชนิดเนื้อละเอียด พวกคาลชิโดนี (Chalcedony) ย้อมสีเขียว หรือสีม่วง แล้วขายในชื่อ ของหยก และอื่นๆ เช่น หยกอินเดีย (Indian Jade) ทำมาจากแร่ควอรตซ์ ชนิดอะเวนจูรีน (Aventurine Quartz) หยกแอฟริกา (African jade) ทำมาจากแร่การ์เนต ชนิดกรอสซูลาไรต์ (Grossularite) หยกอะเมซอน (Amazon jade) ทำมาจาก แร่เฟลต์สปาร์ ชนิดแอมะซอไนต์ (Amazonite) หยกเมทา (Meta jade) ทำมาจากแก้วไลมอรี่ (Limori glass) เป็นต้น ซึ่งในการตรวจสอบ อาจจะต้องใช้ความรู้ และเครื่องมือทาง วิทยาศาตร์เข้าช่วย มากกว่าตรวจสอบ ด้วยตาเปล่า

2.3 การทำปลอม คือการนำเอาวัสดุ หรือสิ่งสังเคราะห์ต่างๆ เช่น แก้ว พลาสติก ฯลฯ มาทำสี ย้อมสี ให้เหมือนหยก และยังมีการสังเคราะห์ หยกขึ้นได้แล้ว แต่ยังไม่มีการนำเข้าสู่ตลาดพลอย

2.4 การเคลือบผิวด้วยไข ขี้ผึ้ง หรือน้ำมันบางอย่าง เพื่อให้ดูสวยงาม แวววาว กว่าความเป็นจริง เพื่อล่อตาจูงใจให้ซื้อ อาจจะทดสอบ โดยการนำเอาหยก ไปวางใกล้ๆ กับแหล่งความร้อน เช่น หลอดไฟ เตาไฟ ฯลฯ ทิ้งไว้สักครู่ให้พอรู้สึกร้อนแล้วเอามือจับดู ขูดถูที่ผิวเบาๆ ถ้ารู้สักมีความยืด หรือเหนียวหนืด ก็แสดงว่าหยก อาจจะถูกเคลือบ ด้วยสารอย่างใดอย่างหนึ่ง

2.5 หยกที่ประดับ ติดในตัวเรือน ที่ปิดฐานมิดชิด เหลือเนื้อหยก ให้ดูบางส่วน ซึ่งไม่สามารถจะตรวจดูเนื้อใน ได้ทั่วตลอด ควรระวังการเจียระไน แบบซ่อนกลวงไว้ข้างใน ซึ่งเทคนิควิธี การเจียระไน อาจจะทำให้ยากต่อการสังเกต

2.6 บางครั้งอาจจะเอาหยก คุณภาพต่ำสีทึบ มาเจียระไนให้เนื้อบางลง แล้วทำให้มี ความสวยงามมากขึ้น และอาจจะขาย ในขนาดราคาเกินความเป็นจริง

2.7 บางครั้งอาจจะนำเอาหยกคุณภาพดี แต่มีความหนา ไม่พอมาประกบ เข้ากับหยกเช่นกัน ได้แก่ เจไดต์ประกบ 2 ชิ้น (jadeite doublet) หรือเจไดต์ประกบ 3 ชิ้น (jadeite triplet) ทำให้ดูหนาขึ้น เป็นเนื้อเดียวกันตลอด และอาจจะขาย ในขนาดราคาเกินความเป็นจริง ที่กล่าวมานี้ การตรวจสอบ การพิจารณาสังเกต อาจจะต้องทำด้วย ความรอบคอบ ระมัดระวัง หรืออาจจะต้องใช้ประสบการณ์ช่วย ในการพิจารณาด้วย

(จาก Rock-Hut information)