ไพลิน (Sapphire)

ไพลินคอรันคัมทุกสี ยกเว้นสีแดง จะเรียกว่าแซฟไฟร์ สีต่างๆ ของแซฟไฟร์ สามารถนำมาใช้เรียก เป็นชื่อชนิดอื่นได้ เช่น แซฟไฟร์สีเหลือง (บุษราคัม) แซฟไฟร์สีเขียว (เขียวส่อง เขียวมรกต) แซฟไฟร์สีน้ำเงิน (ไพลิน) แซฟไฟร์สีส้มอมชมพู (แพดพาแรดชา) เป็นต้น

สีต่างๆ ของแซฟไฟร์ เกิดจาก ธาตุชนิดต่างๆ สีน้ำเงินของไพลินฟเกิดจากธาตุเหล็ก และไททาเนียมสีของไพลินที่ถือว่า สวยงามที่สุดคือ สีน้ำเงินเข้มสด และมีสีม่วงอมเล็กน้อย มีความมืดสว่างปานกลาง ไพลินจัดเป็นแซฟไฟร์ ที่ได้รับความนิยมมาก ทำให้ค่อนข้างมีราคาสูง รองลงมาเป็นบุษราคัม เขียวส่อง ส่วนชนิดแซฟไฟร์สีอื่นๆ จัดเป็นรัตนชาติ สำหรับการสะสม ก็ว่าได้ แต่ก็หาไม่ได้ง่ายนัก และอาจมีราคาแพง ได้เช่นกัน เช่น แพดพาแรดชา แซฟไฟร์ สีม่วง สีชมพู เป็นต้น และก็เช่นเดียวกันกับ รัตนชาติชนิดอื่นๆ ที่คุณภาพ คุณค่าราคา ขึ้นอยู่กับสี ความสดใส ไร้ตำหนิ การเจียระไน และน้ำหนัก

แหล่งผลิตแซฟไฟร์ ที่สำคัญของโลก โดยเฉพาะไพลิน ในปัจจุบันนี้ได้แก่ ออสเตรเลีย ศรีลังกา ไทย พม่า กัมพูชา แทนซาเนีย

ไพลิน แบ่งออกเป็นระดับทางการค้าได้ 5 ระดับ คือ

1. ไพลินแคชเมียร์ หมายถึง ไพลินที่มีสี เหมือนไพลิน ที่มาจากแหล่งแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย ซึ่งจัดเป็นแหล่งที่มี ไพลินสีสวยงาม เป็นหนึ่งในอดีต แต่ในปัจจุบันนี้ ไม่มีการผลิต จากแหล่งนี้แล้ว แต่ยังคงใช้ เป็นชื่อเรียกไพลิน จากแหล่งต่างๆ ที่มีสีแบบนี้ว่า "แคชเมียร์แซฟไฟร์" สีที่สวยงาม ของแคชเมียร์แซฟไฟร์ คือ สีน้ำเงิน อมม่วงเล็กน้อย คล้ายกับสีดอกอัญชัน (Cornflower blue) และมองดูมี เนื้อนุ่มนวล เหมือนผ้ากำมะหยี่ มีโทนสีมืดปานกลาง แต่พลอยชนิดนี้ จะไม่โปร่งใสเลยทีเดียว จึงมีผลกระทบ ต่อความสุกใส ประกายแวววาว ของพลอย ทำให้พลอย ดูเหงาซึมเซา ที่จริงแล้ว ไพลินระดับนี้นานๆ ครั้งจะพบมีขาย ในท้องตลาด ไพลินจาก แหล่งศรีลังกา ไทย พม่า เขมร ก็อาจมีสีนี้ได้เช่นกัน
2. ไพลินพม่า หมายถึงไพลิน ที่มีสีเหมือนไพลิน จากแหล่งพม่า ซึ่งจัดว่าสวยงามมาก เช่นกัน คุณภาพไพลิน ระดับพม่านี้ ใช้เป็นระดับคุณภาพ ในการซื้อขาย ในอเมริกา เป็นส่วนใหญ่ สีที่สวยงาม ของไพลินพม่าคือ สีน้ำเงินเข้ม อมม่วงเล็กน้อย มีโทนสีมืด ปานกลาง เช่นเดียวกับ ไพลินระดับแคชเมียร์ แต่ไม่มีความนุ่มนวล เหมือนกำมะหยี่ มีสีน้ำเงินเข้ม ที่เรียกว่า สีรอแยลบลู (Royal blue) สีน้ำเงิน ของไพลิน ระดับพม่านี้ จัดเป็นสีน้ำเงิน ที่สวยขรึม แต่จะขาดความสุกใส ประกายมี ชีวิตชีวาไปเล็กน้อย ไพลิน จากแหล่งไทย ศรีลังกา เขมร ก็มีสีแบบนี้ ได้เช่นกัน ข้อแตกต่างของ ไพลินแคชเมียร์ และไพลินพม่า คือ ไพลินพม่า ไม่มีลักษณะเนื้อนุ่มนวล แบบกำมะหยี่ เหมือนไพลินแคชเมียร์
3. ไพลินไทย จัดเป็นไพลิน ระดับค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะในอเมริกา ถือว่าไพลินที่มีสีเหมือน ไพลินไทยจะมีราคาต่ำ สีที่ว่านี้คือ สีน้ำเงินน้ำ ดำมืดเหมือนน้ำหมึก สีค่อนข้างมืด ทำให้พลอยดูดำ มืดทั้งเม็ด บ้างครั้ง ก็มีสีเขียวปน แต่บางครั้ง อาจมีลักษณะเนื้อเหมือน กำมะหยี่ปนบ้าง สำหรับไพลินไทย จากแหล่งกาญจนบุรี ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำเงินเข้ม และมีความขุ่นขาว เป็นตำหนิปน อยู่ตามโซนสี ทำให้พลอยดู มีประกายวาวมากขึ้น แต่ถ้าลักษณะ ความขุ่นขาว มีมากตลอดทั่ว ทั้งเม็ดพลอย จะทำให้พลอยนั้น ดูไร้ประกาย หรือด้านมัว ไพลินจาก แหล่งกาญจนบุรี มีลักษณะโดยทั่วไป คล้ายไพลินศรีลังกา โดยเฉพาะมีโซนสี หรือแถบสีที่เด่นชัด
4. ไพลินซีลอน จัดเป็นสีน้ำเงินที่สวย มีประกายมีชีวิตชีวา เป็นสีน้ำเงินที่มี ความเข้มน้อยกว่า ไพลินพม่า ไพลินซีลอน มีโทนสีอ่อนกว่า ไพลินพม่าด้วย ทำให้ดูสุกใสมีประกายกว่า ที่พบสวย เหมือนไพลิน แคชเมียร์ก็มี ไพลินซีลอน ได้จากพลอย ก้อนสีขาวขุ่น เหมือนน้ำนม มีจุดสีน้ำเงิน อยู่ในเนื้อ นำไปเผาจะให้ พลอยสีน้ำเงินทั้งสวย และไม่สวย ที่สวยก็นำมาขาย เป็นไพลินซีลอน ส่วนที่เผาแล้วไม่สวย ก็จะได้เป็นสีฟ้าอ่อนใส หรือขาวไปเลย ซึ่งไม่ค่อยมีราคานัก เรียกตามภาษา ชาวบ้านว่า ไพลินซีลอน เผาไม่ออก * ซีลอน คือ ศรีลังกา *
5. ไพลินออสเตรเลีย มีสีน้ำเงินมืดสนิท กว่าไพลินไทย หรือคล้ายไพลินไทย แต่ไม่มีลักษณะ เนื้อกำมะหยี่ปนอยู่เลย อาจมีสีเขียวปนบ้าง จากที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นระดับทางการค้า ของไพลิน ซึ่งก็ไม่มีสีอะไร ที่แน่นอนประจำ แหล่งเลย เพียงแต่ถ้าเคยพบ พลอยสีงามน้ำหนึ่งใน แหล่งนั้นตามที่กล่าวข้างต้น ก็จัดให้ชื่อตามระดับ คุณภาพทางการค้า ตามชื่อแหล่งนั้น กล่าวคือใช้ชื่อแหล่ง เป็นพื้นฐาน แบบอย่าง ของคุณภาพสีนั่นเอง

โดยสรุปแล้วระดับทางการค้าม

นั้นใช้สีเป็นตัวประกอบที่สำคัญที่สุด มิได้หมายถึงแหล่งเลย นอกจากนี้ความนิยม ชมชอบสีของคน ในแต่ละเชื้อชาติ จะแตกต่างกัน แต่สีซึ่งเป็นสีที่คุณภาพดีที่สุดคือ สีน้ำเงินเข้ม อมม่วงเล็กน้อย สีโทนสีปานกลาง ไม่มืดมาก และไม่สว่างมากเกินไป บวกกับความสุกใส มีประกาย มีชีวิตชีวานั่นเอง

(จากหนังสือศรีสรรพ์อัญมณี)